จากปรากฏการณ์ภูเขาไฟกุมเบร เบียฆา (Cumbre Vieja) ระเบิดที่เกาะลา ปัลมา (La Palma) ในหมู่เกาะคานารีของประเทศสเปนตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2564 ธารลาวร้อนละอุได้ไหลลงทำลายบ้านเรือน โรงเรียน และอาคารทุกแห่ง รวมไปถึงพื้นที่การเกษตร และสิ่งกีดขวางทางไหลของลาวาที่กำลังเดือดพล่าน แต่นอกเหนือจากนั้นหลายฝ่ายกังวลว่าลาวาร้อนๆจะเคลื่อนตัวไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก จนมาถึงวันนี้ (28 กันยายน) และเป็นไปตามคาดการณ์ เมื่อลาวาสีแดงร้อนๆที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,0001,250 องศาเซลเซียสได้สัมผัสน้ำทะเล เกิดปฏิกิริยาเคมีและก๊าซพิษ ไอหมอกควันสีขาวพวยพุ่งขึ้นจากพื้นที่ปลายา นูเอวา เป็นกรดไฮโดรคลอริก ที่ส่งผลอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตปกคลุมไปทั่วบริเวณ โดยผู้เชี่ยวชาญเรียกกลุ่มหมอกควันและแก๊สพิษไฮโดรคลอริกที่ลอยฟุ้งไปผสมกับอนุภาคแก้วละเอียดที่กระจายเหนือท้องฟ้านี้ว่า LAZE มาจากคำว่า LAVA + HAZE  

เนื่องจาก LAZE มีสารพิษหรือไฮโดรคลอริก ทางการของหมู่เกาะลา ปัลวา ได้ทำการอพยพย้ายประชาชนที่อาศัยในพื้นที่และบริเวณในรัศมีของกลุ่มหมอกพิษไปยังที่อื่นเพื่อความปลอดภัย ส่วนผู้ที่สมัครใจยังปักหลักอยู่ไม่ยอมย้ายออก ก็ได้ทำตามหลักการแจ้งเตือนของทางการฯอย่างเคร่งครัด ด้วยการอาศัยอยู่แต่ในเคหสถานและห้ามออกนอกบ้านเด็ดขาด อีกทั้งปิดช่องลมทุกทางเพื่อไม่ให้ก๊าซพิษกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นนี้ได้เล็ดลอดเข้าไปในบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่ เพราะมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ตา ปอด และอาจมีผํู้เสียชีวิตจากหมอกควันพิษนี้ได้ แต่ทั้งนี้ LAZE ก็ยังเกิดปฏิกิริยาขึ้นอีกหลายครั้ง อยู่ในสภาวะเสี่ยงและเฝ้าระวังการระเบิดซ้ำ,การพังถล่มของดินมหาศาลที่อาจก่อให้เกิดสึนามิ,แผ่นดินไหว,ก๊าซพิษและผลกระทบจากฝนกรดที่จะเกิดขึ้นตามมา … กรดไฮโดรคลอริกคืออะไร ฝนกรดคืออะไร และอันตรายจากฝนกรด บทความนี้มาช่วยไขข้อสงสัย แต่ก่อนอื่นเราไปดูเรื่องของการระเบิดของภูเขาไฟกันก่อน 

 

ภูเขาไฟ หรือ Volcano (Volcano มาจาก Vulcan เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งไฟของโรมัน) เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกที่เรียกว่า“แมกมา”เมื่อถูกแรงอัดหรือมีแรงปะทุเกิดขึ้น เหมือนหม้ออัดแรงดัน ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงเศษซากต่างๆจากในภูเขาไฟออกมา เกิดการระเบิดและหินหนืดจะแทรกรอยแตกหรือรอยแยกขึ้นมาบนผิวโลก การพวยพุ่งจากแรงระเบิดนี้ มีทั้งไอน้ำ หินหนืด ฝุ่นละออง แก๊ส และเศษหินต่างๆ พ่นออกมาด้วย โดยหินหนืดร้อนที่พุ่งขึ้นมานี้เรียกว่า“ลาวา”ไหลทะลักออกมาและด้วยความร้อนระอุของลาวาที่ถูกกดทับใต้เปลือกโลกตอนที่ยังเป็นแมกมา มีพลังทำลายล้างสูง สามารถกลืนกินและเผาผลาญสิ่งที่กีดขวางทางไหลของลาวาให้ไหม้จุลในพริบตา ชนิดที่คุณอาจยังไม่ทันได้กระพริบตาด้วยซ้ำ และแก๊สพิษต่างๆใต้เปลือกโลกที่ถูกหมักบ่มสะสมมานาน ได้ทะยานพวยพุ่งออกมาพร้อมกับการปะทุนั้น ส่งผลต่อทัศนวิสัย สิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลกทุกชนิด 

ภูเขาไฟ Cumbre Vieja ณ เกาะ La Palma เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับและพร้อมจะปะทุ ซึ่งเคยมีการปะทุมาแล้วเมื่อปีค.ศ.1646 , ปีค.ศ.1712 และเมื่อปีค.ศ.1949 และล่าสุดคือ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2021 และยังคุกรุ่นซึ่งอาจมีการระเบิดซ้ำได้อีก ภูเขาไฟลูกนี้มีโครงสร้างที่น่าประหลาด เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ข้างในเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบด้วยหิน 2 ชนิด โดยมีชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำคอยดูดซับน้ำจนเต็ม แต่ก็มีอีกโครงสร้างที่เป็นหินแข็งที่ไม่ยอมให้น้ำซึมผ่าน ทำให้มีน้ำขังเต็มเหมือนเป็นเขื่อนเก็บกักน้ำภายในปล่องภูเขาไฟ ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิดการปะทุระเบิดขึ้น ทำให้น้ำในเขื่อนที่อยู่ภายในบวกด้วยความร้อนจากหินละลาย เกิดธารลาวามหึมา ทำให้หินและดินถล่มลงสู่มหาสมุทรถึงหลายล้านตัน ซึ่งมันจะทำให้เกิดคลื่นยักษ์เมกะสึนามิได้อย่างไม่ยากเย็น 

 

ไฮโดรคลอริก แอซิด (Hydrochloric acid / กรด hcl) หรือกรดเกลือ บางคนอาจเคยรู้จักหรือได้ยิน กรดไฮโดรหรือสารละลายกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือคือกรดแก่ที่เป็นได้ทั้งก๊าซและของเหลว  หากอยู่ในสถานะก๊าซจะเรียกว่า ไฮโดรคลอไรด์ แต่ถ้าเป็นของเหลวจะไร้สีหรืออาจมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน และมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ซึ่งที่จริงแล้วในกระเพาะของคนเราก็มีเจ้าสารไฮโดรคลอริกhcl กรดนี้ก็ยังสามารถละลายโลหะได้อีกด้วย

การเกิดปฏิกิริยาของสารละลายไฮโดรคลอริก

  • เมื่อได้รับความร้อนที่สูงขึ้นจะระเหยกลายเป็นไอหรือก๊าซพิษไฮโดรเจนคลอไรด์ 
  • เมื่อได้สัมผัสกับโลหะจะทำให้เกิดคลอไรด์และก๊าซไฮโดรเจน กรดไฮโดรคลอริกโลหะ ทำให้ติดไฟและระเบิดได้ง่าย 
  • หากนำน้ำผสมกับไฮโดรคลอริก จะเกิดการสะเทินและกระเด็นของกรดทำให้กระจายอย่างรุนแรง 

 

การใช้ประโยชน์กรดไฮโดรคลอริก

ทางอุตสาหกรรม

  • เป็นสารเคมีในกระบวนการผลิต ใช้ทำความสะอาดโลหะ 
  • ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิรืยาทางเคมี และทำละลายในการสังเคราะห์สารอินทรย์
  • ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง 
  • ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 
  • ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นวัตถุดิบผลิต PVC คลอโรพรีน ผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง
  • ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 
  • ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 
  • ทำเป็นน้ำยากัดสนิม 
  • ทำแบตเตอรี่รถยนต์ 
  • ปรับสภาพความเป็นกรดบำบัดน้ำเสีย 
  • กรดไฮโดรคลอริก 35% สามารถใช้ในอุตสาหกรรมเหล็ก โรงชุบ ปรับสภาพความเป็นกรด บำบัดน้ำเสีย ทำความสะอาดพื้นสระว่ายน้ำ 

 

ทางการแพทย์ 

  • ใช้เป็นส่วนผสมยาฆ่าเชื้อ
  • ใช้ในการรักษาโรคบางชนิดในทางการแพทย์ 

 

นั่นคือการใช้ประโยชน์จากสารไฮโดรคลอริก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามจัดว่าเป็นสารพิษและอันตรายกับทุกชีวิต 

ฝนกรด (Acid Rain ) นอกจากก๊าซพิษที่ต้องเฝ้าระวัง การเกิดฝนกรดก็เป็นสิ่งที่อันตรายเช่นกัน แล้วฝนกรดเกิดจากอะไร? ฝนกรดเกิดจากสาเหตุใด? ผลกระทบของฝนกรดมีอะไรบ้าง

โดยปกติค่าphของน้ำฝนจะอยู่ที่ราวๆ 5.แต่เมื่อมลพิษทางอากาศหรือมีแก๊สพิษเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าphน้ำฝนลดลง โดยค่าphฝนกรดจะอยู่ที่ประมาณ 4.2 4.4 เลยทีเดียว ดังนั้นฝนกรดหมายถึงน้ำฝนที่ปนเปื้อนไปด้วยแก๊สและสารเคมีอันตราย และแก๊สที่ทำให้เกิดฝนกรดคือก๊าซซัลเฟอร์ไดร์ออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ โดยก๊าซทั้งสองนี้จะเกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณมาก เช่น การเผาไหม้ถ่านหินในอุตสาหกรรมไฟฟ้า การปล่อยของเสียและควันพิษจากโรงงาน การเผาไหม้เครื่องยนต์ของรถยนต์ การเกิดไฟไหม้โรงงานเคมีต่างๆ หรือเกิดจากธรรมชาติ อย่าง ไฟไหม้ป่า ภูเขาไฟระเบิด ทำให้มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกจำนวนมาก และเมื่อเกิดการปะทะกับไอน้ำ ออกซิเจน และสสารต่างๆในชั้นบรรยากาศจึงปฏิกิริยาเคมีการเกิดฝนกรด 

 

ผลกระทบจากฝนกรด หากมีการโดนฝนกรดจะทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจ และถ้าได้มีการดื่มน้ำฝนที่เพิ่งตกใหม่ๆ อาจเสี่ยงต่อการบริโภคน้ำที่มีพิษหรือที่มีสภาวะในรูปฝนกรด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งอาการและความรุนแรงของแต่ละคนที่ได้รับจะแตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นผลกระทบฝนกรดยังทำลายธาตุที่จำเป็นต่อพืชในดิน พัดพาธาตุต่างๆที่เป็นอาหารของพืชรวมไปถึงสารปรอทและสารพิษลงสู่แม่น้ำ น้ำฝนกรดทำลายประสิทธิภาพการดูดซับอาหารของพืชพันธ์ เสี่ยงต่อโรคและอาจล้มตายในที่สุด และมันก็จะวนเป็นห่วงโซ่ต่อสารบบชีวิต เมื่อฝนกรดเป็นพิษต่อน้ำ > สัตว์น้ำ > มนุษย์ < พืชพันธ์ไม้ < ดิน 

จากการที่ลาวาไหลผ่านทุกเส้นทางได้เริ่มก่อตัวเป็นพีระมิดสีดำทะมึนซึ่งเกิดจากหินหลอมเหลวในลาวา ส่วนลาวาที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกก็ได้กินพื้นที่น้ำทะเลไปแล้วเป็นทางยาวถึง 3163 ไร่ ขนาดกว้าง 500 เมตร และยังเปลี่ยนสีน้ำทะเลด้วย และอาจเกิดก๊าซพิษหลายชนิดลอยขึ้นมาจากทะเล ผู้เชี่ยวชาญหวั่นวิตกและเฝ้าระวังเรื่องอาจการเกิดสึนามิตามมา เพราะหากมีการถล่มของพื้นดินหรือเกิดการทรุดตัวของภูเขาไฟและเมื่อกระทบกับพื้นน้ำ จะเกิดมวลน้ำมหาศาลเป็นคลื่นยักษ์เข้าถล่มฝั่งพื้นดินใกล้เคียง โดยนักธรณีวิทยาเรียกคลื่นยักษ์นี้ว่า เมกะสึนามิ Mega Tsunami ซึ่งจะมีความสูงกว่า100 เมตรเลยทีเดียว โดยภาพรวมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้เคยเป็นความกังวลจากนักธรณีวิทยาที่เคยได้ทำการสำรวจบรรดาภูเขาไฟที่กระจัดกระจายอยู่ในโลก และคาดการณ์ไว้ถึงการระเบิดของภูเขาไฟลูกนี้อีกครั้งนับจากครั้งสุดท้ายในปี1949 เพียงแต่ ณ ตอนนั้นพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่สามารถคาดได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร จนกระทั่งเกิดการระเบิดขึ้นในเดือนกันยายน 2021 และหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงไปกว่านี้อย่างเมกะสึนามิตามที่หลายๆฝ่ายกังวล เพราะคลื่นยักษ์ที่มีความสูงกว่า 100 เมตรนี้ สูงกว่าตึกใดๆในโลกและแน่นอนว่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นตามมามันเกินกว่าที่จะอธิบาย