นิยามความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เชื่อไหมว่าระบบร่างกายของคนปกติมีฮอร์โมนแห่งความสุข เหมือนกัน แล้วฮอร์โมนแห่งความสุขคืออะไร หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว แต่อาจเพียงแค่บางตัวเท่านั้น เพราะที่จริงแล้ว ฮอร์โมนแห่งความสุขในร่างกายของคนเรานั้นมีมากกว่าหนึ่ง 

 

ฮอร์โมนแห่งความสุขคืออะไร 

ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่ผลิตโดยต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยหนึ่งในหน้าที่ของฮอร์โมนคือการช่วยควบคุมอารมณ์ของเรา ทั้งอารมณ์โกรธ เหงา เศร้า และ ความสุข  โดยสารแห่งความสุข ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Happy Hormone นี้จะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายหลั่งสารเคมีออกมาเมื่อเรามีความรู้สึกสมดุลทางอารมณ์ในทางบวก ยิ้ม หัวเราะ หรือรู้สึกผ่อนคลาย พึงพอใจ และ มีความสุข ถือได้ว่าฮอร์โมนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจของคนเรามากเลยทีเดียว แล้วสารแห่งความสุขมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยกันเลยดีกว่า 

 

4 ฮอร์โมนแห่งความสุขมีอะไรบ้าง

  1. เอ็นโดรฟิน Endorphin 

เอ็นโดรฟิน หรือ Endorphin คือ ฮอร์โมนที่เป็นสารเคมีพอลิเพปไทด์ที่เกิดจากการเรียงตัวของกรดอะมิโน 32 โมเลกุล ซึ่งหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง โดยเรียกฮอร์โมนชนิดว่า สารแห่งความสุข และเปรียบเสมือนเป็นมอร์ฟินธรรมชาติ เนื่องจากเอ็นโดฟินคุณสมบัติช่วยระงับความเจ็บปวด กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ในส่วนของสมอง โดยที่ร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อเรารู้สึกมีความสุข พึงพอใจ ผ่อนคลาย หรือเมื่อมีความรู้สึกในทางบวก ทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ สบายตัว เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่เมื่อไรที่เรารูสึกเครียด กังวล หรือคิดลบ มีสภาวะจิตใจขุ่นมัว จะทำให้สารเอ็นโดนฟินลดลงทันที 

 

  1. ออกซิโทซิน Oxytocin 

สารออกซิโทซิน หรือ ฮอร์โมนแห่งความรัก เป็นฮอร์โมนแห่งสายสัมพันธ์ ครอบครัว หรือคนรัก โดยเฉพาะในผู้หญิงที่คลอดลูกมักจะมีการหลั่งสารตัวนี้กันมาก กระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนม เป็นสารสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก นอกจากนั้นยังเป็นความรู้สึกดีจากการเชื่อใจคนอื่น สารออกซิโทซินจะช่วยทำให้รู้สึกยิ้มและหัวเราะง่าย สร้างและรักษาความสัมพันธ์ทำให้สามารถเข้ากับคนอื่นและร่วมกิจกรรมในสังคมได้ รวมไปถึงความรู้สึก คลั่งรัก คือ การรู้สึกดีทุกครั้งที่มีการสัมผัส หรือการกอด อาการต่าง ๆ ที่เราเรียมว่า skinship นั่นเอง 

  1. โดพามีน Dopamine  

สารโดพามีน หรือ โดปามีน คือ สารสื่อประสาทที่หลั่งมาจาก Hypothalamus (ไฮโปทาลามัส) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุอารมณ์และความรู้สึกด้านบวก โดยจะมีการหลั่งสารนี้เมื่อเราได้ทำในกิจกรรมที่ชอบ มีความรู้สึกปิติยินดี พึงพอใจ ทำให้เกิดความสุข เรียกได้ว่า โดพามีน คือ ฮอร์โมนฟีลกู๊ด ก็ไม่ผิด แต่สารโดปามีนจะมีการหลั่งในร่างกายคนเราด้วยการถูกกระตุ้นจากพฤติกรรมเดิมซ้ำ ๆ ส่วนใหญ่ และเมื่อไรที่ไม่มีการกระตุ้นจากกิจกรรมเดิม สารโดปามีนจะหยุดทำงาน และถ้าหากมีสารโดปามีนต่ำเกินไปในร่างกายของเรา อาจทำให้รู้สึกหดหู่และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้

  1. เซโรไทนิน Serotonin 

เซโรไทนิน คือ สารสื่อประสาทตัวสำคัญที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด พฤติกรรม และอารมณ์ รู้สึกดีหรือมีความสุขเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่ชอบใจ หากมีในปริมาณที่สมดุลจะช่วยทำให้อารมณ์ดี มีสุขภาพจิตดี มีสมาธิ ช่วยเรียบเรียงกระบวนความคิด และการตัดสินใจได้ดีขึ้น แต่ถ้าหากมีสารเซโรไทนินต่ำกว่าปกติอาจทำให้มีสมาธิสั้น เครียด วิตกกังวลได้ง่าย หรือเกิดปัญหาโรคซึมเศร้าได้