คนใหญ่จะรู้กันดีว่า ปลาแซลมอน คือ ปลาทะเลที่มีโอเมก้า 3 สูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสมอง หัวใจ ผิวพรรณ และร่างกายส่วนอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีรสชาติที่อร่อย สีสันสะดุดตาชวนกิน ทำให้แซลมอนกลายเป็นอาหารยอดนิยมของผู้บริโภค โดยเฉพาะคนที่รักสุขภาพ และผู้ที่ชื่นชอบการกินปลา แต่รู้ไหมว่า Omega 3 ไม่ได้มีอยู่แต่ในปลาทะเลน้ำลึก แต่ในบ้านเราก็มีปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง ไม่แพ้ปลาแซลมอนเลย หาซื้อง่าย แถมยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย ปลาไทยที่มีโอเมก้า 3 สูง มีอะไรบ้าง เราได้รวบรวมรายชื่อมาให้ในบทความนี้แล้วค่ะ
ปลาสวาย
เชื่อไหมว่า ปลาสวายมีโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาแซลมอนเสียอีก โดยในปริมาณเนื้อปลา 100 มิลลิกรัม ปลาสวายมีโอเมก้า 3 สูงถึง 2,111 มิลลิกรัม ด้วยกัน เนื้อมัน ๆ กินอร่อย แถม Omega 3 สูงแบบนี้ แถมราคายังถูกกว่าแซลมอน คงต้องหันมาสนใจปลาไทยบ้างแล้วล่ะ
ปลาทู
ปลาทู อาหารจานหลักของไทยแต่โบราณ ยิ่งน้ำพริกปลาทู ก็กินข้าวได้หลายจาน เพราะรสชาติอร่อย จนหยุดข้าวแค่จานเดียวแทบไม่ได้ แต่รู้ไหม อาหารธรรมดา ๆ ที่คุ้นตาคนไทยมานานอย่างปลาทู มีโอเมก้า 3 สูง โดยในเนื้อปลา 100 กรัม มีโอเมก้า 3 ประมาณ 1,635 มิลลิกรัม แถมมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2
ปลาจาระเม็ดขาว
ปลาจาระเม็ดขาว เป็นปลาที่สามารถพบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลอันดามัน และชุกชุมมากบริเวณหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งปลาจาระเม็ดมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารขึ้นโต๊ะ ที่คนรักการกินปลาส่วนใหญ่จะชื่นชอบ และเมนูที่รู้จักกันดีหนีไม่พ้น ปลาจาระเม็ดราดพริก ปลาจาระเม็ด 3 รส หรือปลาจาระเม็ดนึ่งบ๊วย
ปลาช่อน
ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภค เพราะปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้ง ต้มยำ ทำแกง ปิ้ง ย่าง แดดเดียว หรือทำปลาช่อนลุยสวน ก็กินอร่อยเพลินปากทุกเมนู โดยปลาช่อนมีโอเมก้า 3 สูงถึง 1,052 มิลิลกรัม ต่อ ปริมาณเนื้อปลา 100 กรัมเลยทีเดียว
ปลาอินทรี
ปลาอินทรี เป็นปลาทะเลที่พบได้ในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน มีโอเมก้า 3 ประมาณ 882 เมื่อเทียบในเนื้อปลาปริมาณ 100 กรัม โดยปลาอินทรีนำไปได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นการทำแดดเดียว การทำปลาเค็ม และเมนูที่คุ้นเคยกันดี เช่น ปลาอินทรีทอดน้ำปลา ปลาอินทรีเค็ม เป็นต้น
ปลากะพงแดง
ปลาทะเลของไทยที่มีโอเมก้า 3 สูง อีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ ปลากระพงแดง อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 12 และวิตามินดี โดยเมนูที่เรามักจะคุ้นเคยกันดี เช่น ข้าวต้มปลากะพง ต้มยำปลากะพง หรือต้มโคล้ง เป็นต้น
ปลาเนื้ออ่อน
ในปลาเนื้ออ่อน ปริมาณ 100 กรัม มีโอเมก้า 3 ประมาณ 622 มิลลิกรัม และเมื่อพูดถึงเมนูอาหารที่นิยมนำปลาเนื้ออ่อนไปปรุงกันให้เห็นและได้กินกันบ่อย ๆ คือ ฉู่ฉี่ปลาเนื้ออ่อน ปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียม และ ปลาเนื้ออ่อนราดพริก เป็นต้น
เห็ดได้ชัดว่า ปลาไทยมี Omega 3 ดีสูง ไม่แพ้ปลาแซลมอนเลย แถมราคาถูกกว่า และหาซื้อง่าย หากต้องการสารอาหารและประโยชน์จากเนื้อปลา แต่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ลองเปลี่ยนมาบริโภคปลาไทยในบ้านเรากันดีกว่า ปรุงอาหารได้อร่อย แถมยังช่วยลดปริมาณการนำเข้าปลาต่างประเทศ เป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น การหันมาบริโภคอาหารในท้องถิ่นช่วยลดปริมาณการปล่อย Carbon footprint ดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษ์โลกในทางอ้อมอีกด้วย